ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
          โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออกเปิดทําการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2467 โดยอาศัย
ศาลาการเปรียญของวัดจันทร์ตะวันออกเป็นสถานที่เล่าเรียน ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493
นายเยี่ยน โพธิสุวรรณ นายอําเภอเมืองพิษณุโลก ได้ชักชวนกรรมการศึกษาและญาติพี่น้องในหมู่บ้านวัด
จันทร์ รวบรวมเงินจัดซื้อที่ดินซึ่งเป็นของนายกุล เขียวบัว จํานวน 14 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา เป็นเงิน
3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) และได้มอบหมายที่ดินผืนนี้ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการเพื่อ
ประโยชน์ของการศึกษาให้กับประชาชน อําเภอเมืองพิษณุโลก ตราจองเลขที่ 215 เล่มที่ 3 หน้า 15
พ.ศ. 2502 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินหมวดค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง
ดําเนิน และจัดสร้างอาคารเรียนแบบสามัญ 002 จํานวน 1 หลัง 2 ชั้น ขนาด 6 ห้องเรียน ค่าก่อสร้าง
150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เมื่อสร้างเรียบร้อยแล้ว จึงย้ายสถานศึกษาจากศาลาการ
เปรียญวัดจันทร์ตะวันออก เข้าเรียนอาคารเรียนหลังใหญ่ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2503
          พ.ศ. 2507 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ หมวดค่าที่ดินสิ่งก่อสร้างจัดสร้างอาคาร
เรียนแบบกรมสามัญ 004 จํานวน 1 หลัง 2 ชั้น 8 ห้องเรียน ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 250,000 บาท (สองแสนห้า
หมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้จัดหาเงินสร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าโรงเรียนสิ้นเงินจํานวน 60,000 บาท
(หกหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ อ.พล.001 ชั้นล่างจํานวน 2 ห้องเรียน เป็น
เงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในเดือนเดียวกันนี้ ได้รับงบประมาณสร้างส้วม 1 หลัง
จํานวน 10 ที่นั่ง แบบ สปช.6.02/26 งบประมาณจํานวน 98,500 บาท (เก้าหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเรือนเพาะชํา 1หลัง แบบ พ.1 งบประมาณ 15,000 บาท
(หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณสร้างสนามวอลเล่ย์บอล ขนาด 13 x 22 เมตร เป็นเงิน
80,200 บาท (แปดหมื่นสองร้อยบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.2/28 จํานวน 1 หลัง 3 ชั้น 12
ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ งบประมาณ 2,510,000 บาท (สองล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) และได้รับ
ประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช.205/26 จํานวน 1 หลัง เงินงบประมาณ 820,000 บาท
(แปดแสนสองหมื่นบาทถ้วน) และในปีนี้ได้รับเงินจากร.ต.รวม วีโพธิวรรณ จํานวน 300,000 บาท (สาม
แสนบาทถ้วน) ดําเนินการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิคุณพ่อชม คุณแม่ทองดี โพธิสุวรรณ เพื่อนําดอกผลมา
สนับสนุนการศึกษาโรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก
          พ.ศ. 2531 ได้รับบริจาคจากอาจารย์สกามาศ ผ่องแผ้ว สร้างฐานพระพุทธรูปประจําโรงเรียนอุทิศ
ส่วนกุศลให้คุณพ่อสิงห์แก้ว คุณแม่สุวัฒนา เรือนนาม เป็นเงินจํานวน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) และ
ในปีเดียวกันนี้โรงเรียนได้จัดสร้างแท่นเสาธงชาติ ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร และเสาธงสูง 19 เมตร
เสียค่าก่อสร้าง 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2532 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ สปช.601/26 จํานวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง
งบประมาณจํานวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2533 ได้รับประมาณ เปลี่ยนท่อเมนประปาภายในโรงเรียนใหม่ทั้ง หมวดค่าใช้สอยเป็นเงิน
9,138 บาท (เก้าพันหนึ่งร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน) เงินหมวดค่าที่ดินสิ่งก่อสร้างเป็นเงิน 22,300 บาท
(สองหมื่นสองพันสามร้อยบาทถ้วน) ในปีเดียวกันนี่ทางโรงเรียนคณะกรรมการศึกษาคณะครู อาจารย์
โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก ได้จัดสร้างห้องโภชนาการโดยต่อเติมด้านหลังอาคารอเนกประสงค์ออกไป
กว้าง 5 เมตร ความยาวเท่ากับตัวอาคาร โดยการทอดผ้าป่าสามัคคี ซึ่งได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ชั้น
อภิญญาโน รับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทําการทอดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2533 การก่อสร้างห้องโภชนาการ
สิ้นเงิน 67,115 บาท (หกหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อยสิบห้าบาทถ้วน) และใช้ชื่อห้องนี้ว่า “ ห้องโภชนาการหลวง
ปู่ชั้นอภิญญาโน ”เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2530 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาของสํานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ เปิดสอนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจํานวนนักเรียน 48 คน
          พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนแบบ อ.พล.001 ชั้นล่าง 4
ห้องเรียน โดยยกพื้นสูงจากเดิม 30 เซนติเมตร เทคอนกรีตเสริมเหล็ก เปลี่ยนประตูหน้าต่างทั้งหมด
และทาสีงบประมาณทั้งสิ้น 158,400 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นแปดพันสี่ร้อยบาทถ้วน) และได้รับประมาณ
โครงการพัฒนาพิเศษตามข้อเสนอของ ส.ส.พิษณุ พลไวย์ซ่อมปรับปรุงโรงฝึกงานแบบ 313/ เอ โดยยกพื้น
จากระดับเดิม 30 เซนติเมตร เทคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณเป็นเงิน 64,000 บาท (หกหมื่นสี่พันบาท
ถ้วน) และโรงเรียนได้จัดสร้างห้องกิจกรรมสหกรณ์ 1 ห้อง เป็นเงิน 18,807 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันแปด
ร้อยเจ็ดบาทถ้วน) อาจารย์สุรศักดิ์ ทรัพย์ศรี ได้ชักชวนญาติพี่น้อง ได้แก่ นายประมาน พิกุสแย้ม ได้มอบ
ตู้เย็น ตู้ทําน้ําเย็น และกระติกน้ําร้อน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 36,000 บาท ( สามหมื่นหกพันบาทถ้วน )
          พ.ศ. 2538 โรงเรียนจัดงานชุมนุมศิษย์เก่า และทอดผ้าป่าสามัคคีได้เงินจํานวน 182,709 บาท
(หนึ่งแสนแปดหมื่นสองพันเจ็ดร้อยเก้าบาทถ้วน) และนําเงินไปใช้ประโยชน์ดังนี้
            1. ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ สปช.205/36 โดยการกรุลวดตาข่ายล้อมอาคารอเนกประสงค์
เป็นเงิน 27,818 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยสิบแปดบาทถ้วน)
            2. ปรับปรุงอาคารเรียนชั้นมัธยมกั้นห้องเรียนใหม่สิ้นเงิน 107,403 (หนึ่งแสนเจ็ดพันสี่ร้อยสาม
บาทถ้วน)
            3. จัดสร้างรั้วด้านหน้าโรงเรียนสิ้นเงิน 107,403 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดพันสี่ร้อยสามบาทถ้วน)
            4. ซื้อเครื่องตัดเหล็ก และสว่านไฟฟ้าสิ้นเงิน 5,550 บาท (ห้าพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
            5. ถมดินสนามเด็กเล่น และโรงเก็บรถสิ้นเงิน 34,116 บาท (สามหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยสิบหกบาท
ถ้วน)
          วันที่ 14 พฤษภาคม 2538 บริษัท เซลล์แห่งประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์น้ํามันหล่อลื่น มอลล่า โป
รททีเอ็กซ์ จัดแข่งขัน มอลล่าโปรททีเอ็กซ์ ซูเปอร์คอส ค่าผ่านประตูทั้งหมดมอบให้โรงเรียนได้เงินทั้งสิ้น
106,188 บาท (หนึ่งแสนหกพันหนึ่งร้อยแปดสิบแปดบาทถ้วน) และได้นําเงินไปจัดทํารั้วทั้งหมด ได้รับ
งบประมาณโครงการพิเศษตามข้อเสนอของ ส.ส.ยิ่งพันธ์ มนะสิการ จัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 100 เมตร หนา 015 เมตร งบประมาณ 140,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาท)
ได้รับงบประมาณโครงการพิเศษตามข้อเสนอของ ส.ส.สุชน ชามพูนท ถมดินปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเกษตร
ขนาดกว้าง 35 เมตร ยาว 45 เมตร สูง 1.5 เมตร เป็นเงิน 70,875 บาท (เจ็ดหมื่นแปดร้อยเจ็ดสิบห้าบาท
ถ้วน) แต่เงินจํานวนนี้ทําไม่ได้ไม่มีผู้ประมูล โรงเรียนจึงหาเงินสมทบอีก 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
และตกลงการจ้างพิเศษจํานวนนี้ โรงเรียนจึงหาสมทบอีกได้รับบริจาค 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
ได้รับบริจาคจากชมรมศิษย์วัดนางพญาโดยนางจุลินนท์ เหลือนาค ประธานเป็นผู้ดําเนินการสําเร็จ
เรียบร้อย
          พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณอุทกภัยปรับปรุงส้วมแบบ สปช.602/26 จํานวน 10 ที่นั่ง โดยยกพื้น
ประตูหน้าต่างสูงจากเดิม 50 เซนติเมตร เทคอนกรีตปูกระเบื้องให้สถานเดิมพ้นจากสถานน้ําท่วม
งบประมาณในการปรับปรุงจํานวน 39,300 บาท (สามหมื่นเก้าพันสามร้อยบาทถ้วน)
วันที่ 28 กันยายน 2539 ได้รับประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.2/28 ขนาด 3 ชั้น จํานวน
15 ห้องเรียน งบประมาณ 5,185,500 บาท (ห้าล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
วันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ได้รับการจัดสรรงบประมาณงบพัฒนาจังหวัดตามข้อเสนอของ ส.ส.ยิ่ง
พันธ์ มนะสิการ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 60 เมตร หนา 0.15 เมตร ไหล่
ทางลงลูกชิงข้างละ 1 เมตร หนา 0.15 เมตร ปริมาตรลูกดิง 18 ลูกบาศก์เมตร งบประมาณ 89,220 บาท
(แปดหมื่นเก้าพันสองร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2542 สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลกได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา รูปแบบเครือข่ายโรงเรียนมาตรฐานชานเมือง ( หน่อชนเมือง ) และสํานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนําร่องการประเมินผลภายในตามมาตรฐาน
การศึกษาแห่งชาติ และสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลกได้คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนําร่อง
โรงเรียนสีขาว
          พ.ศ. 2543 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนําร่องแก้ปัญหานักเรียนมีแนวโน้มออกกลางคัน จาก
สํานักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
ในปีนี้ได้ปรับปรุงห้องเรียนอนุบาล 4 ห้อง และห้องสมุดโรงเรียนใช้งบประมาณ 250,000 บาท
(สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน ) เทคอนกรีตใต้ถุนอาคารเรียน พล.001 ใช้งบประมาณ 148,300 บาท (หนึ่ง
แสนสี่หมื่นแปดพันสามร้อยบาทถ้วน ) จัดทําห้องผู้บริหาร 120,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
จัดทําที่จอดรถยนต์ใช้งบประมาณ 150,000 บาท ( หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ได้งบประมาณจาก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จํานวน 10 เครื่อง ใช้งบประมาณ 220,000 บาท ( สอง
แสนสองหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ.2544 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียน school net ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสํานักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จํานวน 15 เครื่อง งบประมาณ 350,000
บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ.2559 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนประชารัฐ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ
เป็นจํานวนเงิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)

          ปัจจุบันมีอาคารเรียน 4 หลัง 39 ห้องเรียน อาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง โรงอาหาร - หลัง ส้วม 2
หลัง 20 ที่นั่ง สนามกีฬา สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล เปิดทําการสอนนักเรียน 3 ระดับ คือ ระดับ
ก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวนนักเรียนทั้งหมด 340 คน ครู
อาจารย์ 18 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน นักการภารโรง 1 คน